บุคลิกภาพและการแต่งกายเป็นอีกองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดอีกเรื่องหนึ่ง เพราะเป็นสิ่งแรกที่ลูกค้าได้พบเห็น และอาจเป็นปัจจัยสำคัญที่สามารถสร้างความประทับใจแรก (First Impression) พบได้ทั้งด้านบวกและลบ
เพราะพนักงานบริการเป็นตัวแทนขององค์กรที่มีผลต่อความประทับใจอย่างชัดเจน หากพนักงานบริการแต่งกายเรียบร้อย และพฤติกรรมการให้บริการดี ย่อมเป็นภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กร
คำกล่าวที่ว่า “ความประทับใจแรกเป็นความประทับใจที่ยาวนาน” ยังสามารถใช้ได้ทุกยุคทุกสมัย ดังนั้นเรามาพัฒนาบุคลิกภาพและการแต่งกายของผู้ให้บริการกันดังนี้
1.บุคลิกภาพ มีองค์ประกอบ 4 เรื่อง คือ
งานบริการ ทัศนคติ เช่น แนวความคิดกับการทำงานบริการ
งานบริการ อารมณ์ เช่น การควบคุมอารมณ์กับสถานการณ์ต่างๆ
งานบริการ พฤติกรรม เช่น การเดิน นั่ง ยืน ยิ้ม คำพูดและ มารยาท ฯลฯ
งานบริการ บุคลิกภาพภายนอก เช่น เครื่องแบบ การแต่งกาย ทรงผม ฯลฯ
หลักการสำคัญในการพัฒนาบุคลิกภาพ
งานบริการ คิดเชิงบวกกับลูกค้าและเหตุการณ์มองเป็นการพัฒนาตัวเองและสร้างสุขให้ลูกค้า
งานบริการ ยินดีบริการด้วยใจรักงานบริการอย่างจริงใจ
งานบริการ ยิ้มด้วยความสดใส จากหัวใจที่พร้อมบริการ
งานบริการ การแต่งกาย ทรงผม อย่างสุภาพและเหมาะสม
2.การแต่งกายสำหรับพนักงานผู้ให้บริการ
งานบริการ เครื่องแบบ หรือ ชุดสุภาพ (กรณีไม่มีเครื่องแบบ) เพื่อแสดงความเป็นพนักงานที่พร้อมบริการ และยังเป็นสัญลักษณ์ขององค์กร ณ จุดบริการ
งานบริการ ทรงผมและสีผมที่เหมาะสมกับธุรกิจ และเพศของพนักงาน เช่นผู้ชายควรตัดผมสั้น สะอาด
งานบริการ สีสันและการแต่งกาย ควรเลือกให้เหมาะสมกับกาลเทศะ เพราะสีมีความหมายที่ต่างกัน
งานบริการ รองเท้า-ถุงเท้า ผู้ให้บริการควรสวมรองเท้าสีเข้ม สุภาพเหมาะกับสถานที่และกาลเทศะ
งานบริการ การแต่งหน้า ที่เนียนเป็นธรรมชาติ ช่วยเสริมให้ชวนมอง ดูสดใสตลอดเวลา
หลักการแต่งกายที่เหมาะสมสำหรับพนักงานผู้ให้บริการ
งานบริการ ยึดมั่นปฏิบัติตาม กฎ กติกา ขององค์กร
งานบริการ ดูแลความสะอาด และความเรียบร้อยเป็นสำคัญ
งานบริการ ใส่ใจในรายละเอียดของการแต่งกายให้ครบถูกต้อง มากกว่าความโก้ หรู
การเป็นผู้ให้บริการควรต้องดูแลและรักษาบุคลิกภาพและการแต่งกายให้เหมาะสม สุภาพเรียบร้อยและ สะอาด อย่างเป็นปกติ เพื่อสร้างความประทับใจแรกพบ และสร้างความมั่นใจในการรับบริการจากเราอย่างพึงพอใจทั้งด้านงานบริการและภาพลักษณ์ เมื่อลูกค้าประทับใจก็จะมีการซื้อซ้ำอย่างไม่ต้องกังวลใจ ดังคำกล่าวที่ว่า “ลูกค้าตัดสินใจซื้อจากตัวคุณ ไม่ใช่ที่ตัวสินค้า (Customers Buy you, not your product)”